วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

หน้าที่ชาวพุทธ ม.2 โดยจารย์ท๊อป































ประวัติพุทธสาวก สาวิกา และชาดก ม.2



ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา
1.      ประวัติพระสารีบุตร
           พระ สารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะมีสหายคนหนึ่งชื่อว่า โกลิตะ เป็นบุตรของนายบ้านโกลิตคามซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกัน เที่ยวด้วยกันและศึกษาศิลปวิทยาร่วมกัน วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวชมมหรสพในเมืองเห็นความไร้สาระของมหารสพเกิดความ เบื่อหน่ายในการเสพสุขสำราญจึงปรึกษากันแล้วชวนกันพร้อมกับบริวารบวชเป็นปริ พพาชกอยู่ในสำนักสัญชัย เวลัฏฐบุตร เพื่อศึกษาธรรมแต่ยังมิได้บรรลุธรรมพิเศษเป็นที่สุดที่พอใจ จึงนัดหมายกันว่าผู้ใดได้บรรลุธรรมพิเศษก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่ผู้อื่น
           ขณะ นั้นเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระอัสสชิซึ่งเป็นองค์หนึ่งในจำนวนปัญจวัคคีย์ได้เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระ พุทธเจ้าและกำลังบิณฑบาตอยู่ อุปติสสะได้พบท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงติดตามไปเมื่อพระอัสสชิฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงได้เข้าไปถามถึงข้อปฏิบัติ พระอัสสชิได้แสดงธรรมให้ฟังสั้น ๆ ว่า สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุ จะดับไปก็เพราะเหตุดับอุปติสสะได้ฟังเกิดดวงตาเห็นธรรม คือ เข้าใจแจ่มแจ้งสิ้นความสงสัยบรรลุโสดาบัน เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่พระเวฬุวันจึงนำธรรมที่ตนได้ฟังไปเล่า ถ่ายทอดให้โกลิตะผู้เป็นสหายฟัง โกลิตะเมื่อฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกัน จึงไปลาอาจารย์สัญชัย พร้อมทั้งบริวารพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ขอบวชเป็นพระสาวกพร้อมทั้งบริวาร พระพุทธเจ้าประทานบวชให้ทั้งหมด เมื่อบวชแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอบรม บริวารทั้งหมดได้สำเร็จอรหันต์ก่อน ส่วนอุปติสสะ ได้บำเพ็ญธรรมต่อมาอีก 15 วันจึงได้สำเร็จอรหันต์พระสารีบุตรได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่นในทางปัญญา เป็นผู้มีคุณธรรมดีเด่นด้านปัญญา เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาพระสารีบุตรนิพพานวันเพ็ญกลางเดือน 12 นิพพานก่อนพระโมคคัลลานะ 15 วัน และก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ 7 เดือน ก่อนนิพพานท่านได้เทศนากล่อมเกลาจิตใจของบิดามารดาจของท่านให้กลับใจมา นับถือพระพุทธศาสนาจนเป็นผลสำเร็จ
2.      คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง
        1. เป็นผู้มีปัญญาเลิศ สามารถ เข้าใจพระธรรมคำสอนของพรพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งและอธิบายให้คนอื่นฟังได้ อย่างดียิ่ง แม้เรื่องยากเพียงไรก็ตาม ก็สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย เมื่อมีพระสงฆ์สาวกจะทูลลาไปต่างเมือง พระพุทธเจ้ามักตรัสให้ไปลาและรับฟังโอวาทจากพระสารีบุตรด้วย
        2. เป็นผู้มีขันติเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยมไม่คิดร้ายใคร ไม่โกรธหรือคิดตอบโต้ใคร ๆ เช่น ท่านถูกพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งทราบว่า ท่านไม่โกรธและมีความอดทน ย่องไปทุบข้างหลังจนท่านเซไปข้างหน้า ท่านก็ไม่เหลียวมอง ทำให้พราหมณ์เกิดความสำนึกผิดและขอขมาท่าน
        3. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ พระ สารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ท่านนับถือพระอัสสชิเป็นพระอาจารย์องค์แรกของท่าน เมื่อรู้ว่าพระอัสสชิอยู่ในทิศใด เวลาจะนอนท่านจะหันศีรษะไปทางทิศนั้น นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ยอดกตัญญูรู้คุณแม้เพียงเพราะพรามหณ์แก่ชื่อว่าราธะซึ่งเคย ตักข้าวใส่บาตรท่านทัพพีท่านก็จำได้และเมื่อราธพราหมณ์ประสงค์จะบวชแต่ไม่มี ใครรับรองให้บวช
ท่านก็กราบทูลพระพุทธเจ้าขอรับหน้าที่บวชให้
        4.เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พระสารีบุตร เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก ถึงแม้จะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีปัญญาเทียบเท่าพระองค์ ท่านก็ไม่เคยลืมตนท่านอ่อนโยนต่อทุกคน ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวท่านจึงเป็นที่รักของเพื่อนพระสาวกด้วยกันเป็นอย่าง มาก
    2. ประวัติพระโมคคัลลานะ
        พระโมคคัลลานะ เดิมชื่อ โกลิตะ เป็นบุตรของนายโกลิตะคาม ชื่อโกลิตะเช่นเดียวกับท่าน มารดาชื่อนางโมคคัลลีเมื่อบวชแล้วพระสงฆ์เรียกท่านในนามมารดาว่า โมคคัลลานะ ท่านเป็นสหายที่สนิทกันกับอุปติสสะ (พระสารีบุตร) ได้บวชพร้อมกับพระสารีบุตร บวชแล้วได้สำเร็จอรหันต์ก่อนพระสารีบุตร 7 วันพระโมคคัลลานะ นับแต่อุปสมบทได้ 7 วัน ไปทำความเพียรที่หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เกิดความโงกง่วงเข้าครอบงำพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่นั่นและทรงแสดงวิธีแก้ความ ง่วง พร้อมกับประทานโอวาทว่าด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ทั้งหลายว่า เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอนท่านได้ปฏิบัติตามโอวาทที่ทรงสั่งสอนก็ได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้นนั่นเองพระโมคคัลลานะ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่นในทางมีฤทธิ์ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า คู่กับพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ท่านเป็นที่เกรงขามของคนอื่น พูดอะไรคนมักเชื่อฟัง เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนา ทำหน้าที่ในการปกครอง ดูแลพระภิกษุที่ประพฤติมิชอบ นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถในงานก่อสร้าง เช่น คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าได้มอบหมายให้ท่านควบคุมงานก่อสร้างโลหะปราสาทที่นาง วิสาขาสร้างถวายจนเสร็จสมบูรณ์พระโมคคัลลานะ นิพพานที่ตำบลกาฬศิลา เหตุที่นิพพาน เนื่องจากถูกลัทธิตรงข้ามกับพระพุทธศาสนา เกิดความอิจฉาริษยาเกรงวาเมื่อท่านยังอยู่จะทำให้พระพุทธศาสนาเจริญ รุ่งเรืองยิ่งขึ้น จึงจ้างพวกโจรทุบตีท่าน แต่ก็ไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ เพราะท่านรู้ตัวและหลบหนีไปก่อนถึงสองครั้ง พอครั้งที่สามท่านพิจารณาเห็นว่าคงกรรมเก่า จึงไม่ได้หลบหนีไปไหน พวกโจรก็ทุบตีท่านจนกระดูกแตกละเอียดและเข้าใจว่าท่านตายแล้ว จึงนำไปทิ้งไว้ที่พุ่มไม้แล้วพากันหลบหนีไป ท่านได้พยายามรักษาร่างกายและไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลลานิพพานแล้วกลับมา นิพพาน ณ จุดเดิม พระโมคคัลลานะนิพพานเมื่อวันสิ้นเดือน 12 ภายหลังพระสารีบุตรนิพพานได้ 15 วัน
        คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง
        1. เป็นผู้มีฤทธิ์มาก หมายถึงสามารถแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ เพราะพระโมคคัลลานะได้ผ่านการบำเพ็ญสมาธิอย่างเชี่ยวชาญ ทำให้สามารถใช้ฤทธิ์ปราบปรามคนชั่ว คนดุร้าย สามารถชักจูงให้เขาเหล่านั้นละการประพฤติชั่วหันกลับมาถือศีลปฏิบัติธรรมกัน มากขึ้น
        2. เป็นผู้มีกุศโลบายในการสอนคน เนื่อง จากพระโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก แต่ก็ไม่ได้ใช้ฤทธิ์พร่ำเพรื่อ ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้ท่านถึงจะใช้ฤทธิ์นั้นเป็นเครื่องมือหรือ อุปกรณ์ในการสอนคนและปราบคนชั่วให้เป็นผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถพิเศษเหนือสาวกอื่น ๆ ในด้านการชี้แจงให้พุทธบริษัทเห็นบาปบุญคุณโทษได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย
    3. ประวัตินางขุชชุตตรา
        นางขุชชุตตรา เป็นสตรีรูปค่อม เป็นธิดาของแม่นมของโฆษกเศรษฐีผู้เป็นบิดาเลี้ยงของพระนางสามาวดีซึ่งต่อมา ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กษัตริย์กรุงโกสัมภีนางขุชชุตตราได้รับมอบหมายจากเศรษฐีให้เป็นหญิงรับใช้ ประจำตัวของพระนางสามาวดีตั้งแต่ยังสาว ต่อมาเมื่อพระนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนและเข้าไปอยู่ในราชสำนัก แล้วนางขุชชุตตราก็ได้ติดตามไปรับใช้ด้วยพระเจ้าอุเทนพระราชทานเงินค่า ดอกไม้แก่พระนางสามาวดีวันละ 8 กหาปณะ ซึ่งพระนางได้มอบหมายให้นางขุชชุตตราเป็นผู้จัดซื้อดอกไม้ และนางขุชชุตตราก็ได้ยักยอกเงินค่าดอกไม้วันละ 4 กหาปณะ ซื้อมาเพียง 4กหาปณะเท่านั้นเป็นประจำทุกวันวันหนึ่ง คนขายดอกไม้ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อนางขุชชุตตราได้ช่วยจัดเตรียมภัตตาหารถวายและได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ พุทธเจ้าก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล วันนั้นนางได้ซื้อดอกไม้ทั้ง 8 กหาปณะมาถวายพระนางสามาวดี ทำให้พระนางสามาวดีเกิดความสงสัยจึงซักถาม นางขุชชุตตราก็ได้รับสารภาพ และเล่าเรื่องที่ตนได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าจนเข้าใจแจ่มแจ้งและ บรรลุโสดาปัตติผลแล้วพระนางสามาวดีมีความสนพระทัยใคร่อยากฟังธรรมที่นาง ขุชชุตตราได้ฟังแล้ว จึงให้นางขุชชุตตราอาบน้ำแต่งตัวอย่างดี ปูอาสนะให้นั่งแสดงธรรมแก่พระนางและหญิงบริวารดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อจบการแสดงธรรม หญิงเหล่านั้นทั้งหมดบรรลุโสดาปัตติผล พระนางจึงแสดงคารวะและตรัสให้นางขุชชุตตราไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ให้นางอยู่ ในฐานะเป็นผู้นำธรรมะของพระพุทธเจ้ามาแสดงทุกวันซึ่งนางก็ได้ปฏิบัติเป็น ประจำ ทำให้นางเป็นผู้มีความแตกฉานในธรรมมีความเชี่ยวชาญในธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางขุชชุตตราว่าเป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้เป็นธรรมกถึก คือ " ผู้แสดงธรรม "
        คุณธรรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
        1. มีความเพียรช่วยเหลือตนเอง แม้ร่างกายจะพิการ คือ หลังค่อม แต่ก็ไม่ยอมแพ้ต่อชีวิต ประกอบการงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง
        2. เป็นฝึกฝนตนเอง ถึงแม้ว่านางขุชชุตตราจะยักยอกค่าดอกไม้เป็นประจำทุกวันก็ตาม แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว กลับมีความสำนึกผิด ละเว้นในสิ่งไม่ดีที่ได้กระทำและตั้งมั่นอยู่ในความดีได้ในที่สุด
        3. เป็นผู้มีปัญญามาก เอาใจใส่จดจำพระธรรมคำสอนและนำมาถ่ายทอดได้อย่างเชี่ยวชาญ จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในการเทศน์สอนคนอื่น
ศาสนิกชนตัวอย่าง
    1. พระเจ้าพิมพิสาร
        พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อกรุงราชคฤห์ มีพระมเหสีทรงพระนามว่า เวเทหิ มีพระโอรส ๑ พระองค์ทรงพระนามว่า อชาตศัตรูเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จออกบรรพชา ได้เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณฑวะ แคว้นมคธ ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าว ได้เสด็จไปพบ ทรงพอพระทัยในบุคลิกลักษณะของพระสิทธัตถะเป็นอย่างมาก และได้ทูลเชิญให้ครองราชสมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ ซึ่งพระสิทธัตถะ ได้ตอบปฏิเสธและชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายในการออกบวช พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ทรงขอร้องว่า เมื่อทรงสำเร็จธรรมที่ปรารถนาแล้วขอให้เสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์เพื่อโปรด พระองค์บ้าง
         เมื่อพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและ ได้ทรงเสด็จไปเผยแพร่ประกาศพระศาสนาแล้ว ได้เสด็จไปยังแคว้นมคธ ได้ประทับอยู่ที่
ลัฏฐิวัน ชานเมืองราชคฤห์พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าว ได้เสด็จไปเฝ้าพร้อมกับข้าราชบริพารและชาวเมืองเป็นจำนวนมากพระพุทธเจ้าทรง แสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งข้าราชบริพารพร้อมชาวเมือง หลังจบพระธรรมเทศนาพระเจ้าพิมพิสารได้สำเร็จมรรคผลชั้นโสดาบันทรงประกาศ พระองค์เป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้าพระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลถึงความ ปรารถนาของพระองค์5 ประการ
แก่พระพุทธเจ้าและความปรารถนาทั้ง 5 ประการนั้น ได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วในวันนี้ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร 5 ประการ
        1. ขอให้ได้ทรงเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ
        2. ขอให้พระอรหันต์ได้มาสู่แคว้นของพระองค์
        3. ขอให้พระองค์ได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์
        4. ขอให้พระอรหันต์ได้แสดงธรรมแก่พระองค์
        5. ขอให้พระองค์ได้รู้ธรรมของพระอรหันต์
         พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุสงฆ์เสด็จไปรับภัตตาหารที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น
ซึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงรับอาราธนาในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวก ได้เสด็จไปทรงรับภัตตาหารที่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร หลังจากเสร็จจากภัตตกิจแล้วพระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลถวายอุทยานเวฬุวัน ซึ่งเป็นสวนหลวงแด่พระพุทธเจ้าสำหรับใช้เป็นสถานที่ประทับ พระพุทธเจ้าทรงรับไว้ เพราะฉะนั้น เวฬุวัน หรือสวนไม้ไผ่จึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็น พุทธมามกะ ทรงเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาจนตลอดพระชนม์ชีพ  
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
        1. ทรงมีน้ำพระทัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จะ เห็นได้จากเมื่อพระองค์เสด็จไปพบพระสิทธัตถะ พระองค์ได้ทูลเชิญให้พระสิทธัตถะอยู่ครองราชสมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ โดยมิทรงหวงแหนหรือตระหนี่แต่ประการใด
        2. ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากเมื่อพระองค์สดับพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้ว ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ประกาศตนเป็นอุบาสก นับได้ว่าพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นพระองค์แรก
        3. ทรงเอาพระทัยใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระเจ้าพิมพิสารทรงดำริว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุสงฆ์ที่ อุทยานลัฏฐิวันนั้น คับแคบไม่เพียงพอเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์หมู่มาก พระองค์จึงได้ถวายพระอุทยานเวฬุวันเป็นสถานที่ประทับแห่งใหม่และพระเวฬุวัน จึงได้ชื่อว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาด้วย
ชาดก
    1. มิตตวินทุกชาดก
        เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภถึงพระภิกษุซึ่งเป็นผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ทรงตรัสเรื่องนี้ว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้าที่ชื่อว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ความมีอยู่ว่า นายมิตตวินทุกะถูกจักรพัดอยู่บนศีรษะตลอดเวลา จึงได้รับความทุกข์ทรมานมาก ขณะนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าได้เดินผ่านมา นายมิตตวินทุกะ จึงถามว่าข้าแด่พระองค์ ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เทวดา ข้าพเจ้าได้กระทำความชั่วอะไร จักรนี้ได้จรดที่ศีรษะแล้วพัดผันอยู่บนกระหม่อมของข้าพเจ้าพระโพธิสัตว์ ตรัสว่าเพราะเหตุใดเล่า ท่านผ่านทั้งปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน ปราสาทแก้วมณี และปราสาททองมาแล้วจึงมาถึงณที่นี่ได้นายมิตตวิทุกะกล่าวว่าขอพระองค์ท่าน จงดูข้าพเจ้าผู้มีความหายนะเนื่องเพราะสำคัญว่าที่นี่มีโภคทรัพย์สมบัติมาก มายกว่าปราสาททั้ง 4 หลังที่กล่าวมานี้พระโพธิสัตว์ จึงตรัสตอบว่าเนื่องเพราะท่านมีความปรารถนามากเกินไป ได้ครอบครองนารี ๔ นาง ไม่พอใจทั้ง ๔ นางได้ครอบครองนารีทั้ง ๘ นาง ไม่พอใจทั้ง ๘ นาง ได้ครอบครองนารีทั้ง ๑๖ นาง ไม่พอใจทั้ง ๑๖ นางได้ครอบครองทั้ง ๓๒ นาง ไม่พอใจทั้ง ๓๒ นาง ท่านจึงได้ประสบกับจักรที่พัดอยู่บนศีรษะของท่าน เพราะถูกความโลภ ความปรารถนาที่มากเกินไป พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งสอนว่าขึ้นชื่อว่าความอยาก มีสภาพแผ่ไปยิ่งใหญ่ไพศาล ทำให้เต็มได้ยาก (ความอยากไม่มีที่สิ้นสุด) หากชนเหล่าใดตกอยู่ภายใต้อำนาจของความอยากแล้ว ก็ยากที่จะถอนตัวออกได้ง่าย ๆ เหมือนกับท่านในปัจจุบันนี้ ต้องเทินจักรไว้อยู่บนศีรษะตลอดเวลาพระโพธิสัตว์ตรัสเช่นนี้แล้ว ก็เสด็จสู่เทวสถานแห่งตนทันที ฝ่ายมิตตวินทุกะ ก็ยังคงมีจักรพัดอยู่บนศีรษะอยู่ตลอดเวลา และได้รับความทุกขเวทนาหนักเรื่อยไป จนกว่าบาปกรรมที่กระทำไว้จะหมดสิ้นไป
การที่นายมิตตวินทุกะ ได้รับกรรมเช่นนี้ ก็เนื่องด้วยความโลภ ความปรารถนา และความอยากไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง
        2. ราโชวาทชาดก
        พระราโชวาท คือ คำสอนของพระมหากษัตริย์นั้นปรากฏในเตสกุณชาดก ความว่า ณวันหนึ่งพระเจ้าโกศลทรงตัดสินคดีเรื่องหนึ่งแต่ไม่สำเร็จเพราะเป็นคดี เกี่ยวกับความเอียง (อคติ) จึงตัดสินยาก หลังจากตัดสินเรียบร้อยแล้ว จึงเสวยพระกระยาหารเช้า จากนั้นจึงทรงเสด็จขึ้น
ราชรถ ไปสู่สำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงย่อพระกายลง ณ ที่ใกล้พระบาท แล้วถวายบังคมพระพุทธองค์ต่อจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสถามพระเจ้าโกศลว่า ขอถวายพระพรมหากษัตริย์ พระองค์จะเสด็จไปไหน จึงมาถึงที่นี่แต่กลางวันพระเจ้าโกศลกราบทูลว่า
ข้าพระพุทธเจ้าวันนี้ หม่อมฉันกำลังตัดสินคดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความลำเอียง ยากที่จะตัดสินได้บัดนี้การพิจารณาคดีได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จมายังสำนักพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าขอถวายพระพรแก่พระมหากษัตริย์ เชื่อว่าการตัดสินคดีโดยให้เสมอกัน (ไม่ลำเอียง) เป็นกุศลอย่างแท้จริงหลังจากนั้นพระเจ้าโกศลทูลขอให้พระองค์ทรงเล่านิทานในอดีตที่ผ่านมา พระพุทธองค์จึงเล่าดังนี้คือ
         ครั้งหนึ่งพระเจ้าพรหมทัต ได้เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์พระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตไดัรับพระราช ทานเครื่องบำรุงครรภ์เป็นอย่างดี เมื่อครบกำหนดก็ประสูติจากพระครรภ์มารดาโดยปลอดภัย พระองค์ได้รับขนานพระนาม (ตั้งชื่อ) ว่าพรหมทัตกุมารเมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษาจึงได้เสด็จไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติและประพฤติปฏิบัติตนโดยชอบธรรมอยู่สม่ำเสมอและ เมื่อมีการสั่งการตัดสินคดีก็มิได้ลำเอียงแต่อย่างใด ตัดสินด้วยความเที่ยงตรง เมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติเป็นธรรมเช่นนี้จึงส่งผลให้พวกอำมาตย์ก็ได้ตัดสิน สำนวนคดีโดยชอบธรรมเช่นกัน เมื่อสำนวนคดีทั้งหลายได้รักการตัดสินโดยเป็นธรรม ขึ้นชื่อว่าคดีที่มีเงื่อนงำบิดพริ้วกัน จึงไม่มี ดังนั้นการถวายฎีการ้องทุกข์ที่พระลานหลวงเพื่อประโยชน์ในทางคดีจึงหมดไป พวกอำมาตย์นั่งคอยอยู่ที่ศาลวันยังค่ำก็ไม่พบผู้ใดผู้หนึ่งจะมาให้ตัดสินคดี ฎีการ้องทุกข์ก็หมดไป ศาลก็ถึงภาวะเป็นที่ร้าง พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เมื่อเราเสวยราชสมบัติอยู่โดยชอบธรรม กลับไม่มีผู้คนมาให้ตัดสินคดี ฎีกา ร้องทุกข์ก็หมด ศาลก็ถึงภาวะที่ร้าง บัดนี้ควรที่จะตรวจดูสิ่งที่ไม่เป็นคุณประโยชน์แก่ตน ครั้นรู้ว่า ชื่อว่าสิ่งนี้ไม่เป็นคุณ เป็นโทษแก่ตนก็ละเสีย แล้วประพฤติแต่สิ่งที่เป็นคุณและเป็นประโยชน์เท่านั้น ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์คอยสืบดูว่ามีใครบ้างไหม ที่พูดถึงสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่เรา ทั้งข้าทาสบริวารที่อยู่ใกล้ชิด ข้าทาสบริวารทั่ว ๆไปชาวหมู่บ้านที่อยู่รอบตัวเมืองก็ไม่พบว่ามีใครพูดสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ พระองค์เลยมีแต่การสรรเสริญในสิ่งที่พระองค์กระทำ จึงมอบหมายราชการให้พวกอำมาตย์ แล้วจึงปลอมพระองค์ไม่ให้ใครรู้จักเสด็จขึ้นราชรถพร้อมกับนายสารถีเสด็จออก จากกพระนคร เพื่อสืบดูตามชนบท แต่ก็ไม่พบใคร ๆ พูดถึงสิ่งที่ไม่เป็นคุณต่อพระองค์เลย จึงเสด็จกลับจากพรมแดนบ่ายพระพักตร์เข้าสู่พระนครตามถนนใหญ่
         ในกาลครั้งนั้น ฝ่ายพระเจ้าโกศล ทรงพระนามว่าพัลลิกะ เสวยราชสมบัติอยู่โดยธรรม ก็ทรงแสวงหาสิ่งที่ไม่เป็นคุณ มิได้พบผู้
ที่ กล่าวถึงสิ่งที่ไม่เป็นคุณ แต่อย่างใด จึงทรงพระประสงค์จะสืบดูตามชนบทอยู่เช่นเดียวกัน และได้เสด็จถึงประเทศแห่งนั้น ท้าวเธอทั้งสองพระองค์ ได้สวนกันที่ทางเกวียน ณ ที่เนินแห่งหนึ่ง ที่ ๆ เป็นถนนแคบ รถไม่สามารถจะวิ่งสวนกันได้ จะต้องหลีกหลบอยู่คันหนึ่ง ลำดับนั้นนายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะจึงบอกนายสารถีของพระเจ้าพาราณสีว่าท่านจงหลีกรถของท่านออกไปฝ่ายสารถีของพระเจ้าพาราณสีก็กล่าวว่าท่านสารถีผู้เจริญ ท่านจงหลีกรถของท่านออกไป พระเจ้าพรหมทัตมหาราชผู้เป็นเจ้าของราชสมบัติ ณ พาราณสี ประทับนั่งบนรถคันนี้ฝ่ายสารถีพระเจ้าพัลลิกะกล่าวว่าท่านสารถีผู้เจริญ พระเจ้าพัลลิกะมหาราช ผู้เป็นเจ้าของราชสมบัติ ณ โกศล ประทับนั่งบนรถนี้ ท่านจึงเอารถของท่านหลีกออกไป ให้โอกาสแก่รถของพระราชาพวกเราเถิดสารถีพระเจ้าพาราณสีนึกในใจว่า ได้ยินว่า แม้ท่านผู้นี้ก็เป็นพระราชาเหมือนกันจะทำอย่างไรดี คิดขึ้นได้ว่า ยังมีอุบายอยู่อย่างหนึ่งตกลงใจว่า เราจักถามวัยดูแล้ว ให้รถของพระราชาผู้ทรงพระชนมายุอ่อนหลีกทาง ให้โอกาสแก่รถของพระราชาผู้ทรงพระชนมายุแก่กว่า จึงถามวัยของพระเจ้าโกศลกับนายสารถี กำหนดดูรู้ว่าทั้งสองพระองค์ครอบครองราชอาณาจักรองค์ละสามร้อยโยชน์ มีพล ทรัพย์ ยศ ชาติโคตร ตระกูล ประเทศเท่า ๆ กัน จึงคิดว่า เราจักยอมยกให้โอกาสแก่พระองค์ที่มีศีล จึงถามว่า ท่านสารถีผู้เจริญ ศีลาจารของพระราชาของพวกท่าน เป็นเช่นไร นายสารถีพระเจ้าพัลลิกะ จึงกล่าวอวดพระเกียรติคุณพระราชาของตนว่าพระเจ้าพัลลิกะทรงขจัดคนกระด้าง ด้วยความกระด้าง ทรงชนะคนอ่อนโยนด้วยความอ่อนโยนทรงชนะคนดีด้วยความดี ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความไม่ดีพระราชาองค์นี้เป็นเช่นนี้ สารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิดนายสารถีของพระเจ้าพาราณสีจึงกล่าวตอบ ถึงพระเกียรติคุณของพระราชาของตนว่าพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วย ความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดีทรงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วย คำสัตย์พระราชาองค์นี้เป็นเช่นนี้ นายสารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิดเมื่อสารถีของพระเจ้าพาราณสีกล่าวเช่น นี้แล้ว พระเจ้าพัลลิกะและสารถี ลงจากรถปลดม้าถอยรถออก ยอมให้ทางแก่พระเจ้าพาราณสีทั้งสองพระองค์เมื่อเสด็จกลับถึงพระนคร ก็ทรงทำบุญกุศลและได้ทรงบำเพ็ญทางสวรรค์ไว้ครบริบูรณ์แล้วถึงกาลสมัยสิ้นพระ ชนมายุทั้งสองพระองค์ 
*******************************************************************************************
จำดีกว่าจด***จำไม่หมดจดดีกว่าจำ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

หลังธรรมทางพุทธศาสนา ม.2 โดยจารย์ท๊อป



 หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
    1.ขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
      รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)
     นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    - เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
    - สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    - สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
    - วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)


    2.อริยสัจ 4
   
อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
    เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
    1. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
    1.1 สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    1.2 ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นเนืองๆ เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
    2. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)
    2.1 กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี
    2.2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
    2.3 วิภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
    3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8
    4. มรรคมีองค์ หนทางแห่งการดับทุกข์
    4.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์
    4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ความคิดที่ปลอดโปร่ง ความคิดไม่พยาบาท ความคิดไม่เบียดเบียน
    4.3 สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    4.4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ ไม่ทำลายชีวิตคนอื่น ไม่ขโมยของ ไม่ผิดในกาม
    4.5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
    4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้น เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว
    4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม
    4.8 สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อมุ่งมั่นกระทำความดี

 จากอริยสัจ 4 สังเกตได้ว่า
    1. ทุกข์ คือ ตัวปัญหา
    2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา
    3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา
    4. มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา

มรรคมีองค์แปด คือ ไตรสิกขา ได้แก่
    
ศีล: สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
    สมาธิ: สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    ปัญญา: สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

    ความสำคัญของอริยสัจ 4
    1. เป็นคำสอนที่คลุมหลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
    2. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแห่งปัญญา
    3. คำสอนที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ตามหลักความจริงแห่งธรรมชาติ
    3. ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
    1. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
    2. ทุกขตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป
    3. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
    ในเรื่งไตรลักษณ์ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนสูงสุด ซึ่งทุกสิ่งในสากลจักรวาลล่วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น

    
4. กฎแห่งกรรม หมาย ถึง กระบวนการกระทำและการให้ผลการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีหลักอยู่ว่าคนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำความดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
    กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธวจนะตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว ย่อมกระทำทางกาย ทางวาจาและทางใจ

    5. พรหมวิหาร 4
    ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่
    1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
    2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์
    3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
    4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

    6. อัปปมาท
    ธรรมที่กล่าวถึงความไม่ประมาท คือ การดำเนินชีวิตที่มีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำ ทุกอย่าง ระมัดระวังไม่ถลำตัวไปในทางเสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับความไม่ประมาทว่า ความไม่ประมาท ย่อมเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่
    7. สังคหวัตถุ 4
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
    1. ทาน การให้
    2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
    3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
    4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง

    8. ฆราวาสธรรม 4
หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่
    1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน
    2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น
    3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย
    4. จาคะ การเ สียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

    9. บุญกิริยาวัตถุ 10
หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี 10 ประการ
    1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
    5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
    6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
    7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

    
10. สัปปุริสธรรม 7
   หลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี
    1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
    2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
    3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
    4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
    5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
    6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
    7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี

    เป้าหมายของชีวิต
   
พระพุทธศาสนาวางเป้าหมายชีวิตไว้ 3 ระดับ
    1. เป้าหมายระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) หมายถึง เป้าหมายประโยชน์ในระดับชีวิตประจำวันที่มนุษย์ในสังคมต้องการ คือ
     ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา)
    เก็บออมทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
    คบคนดีเป็นเพื่อน (กัลยาณมิตตตา)
    ใช้ทรัพย์เป็น (สมชีวิตา)
    2. เป้าหมายระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) เน้นที่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ เป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต คือ
    มีศรัทธา เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในกรรม และผลของกรรม
    มีศีล ความประพฤติทางกาย วาจา เรียบร้อย
    จาคะ ความเสียสละ
    ปัญญา รู้อะไรดีอะไรชั่ว
    3. เป้าหมายระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) หมายถึง ประโยชน์ที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นจุดหมายสุดท้ายที่ชีวิตจะพึง